บทที่ 6 วงจรพัลส์เบื้องต้น
วงจรพัลส์เป็นวงจรที่กำเนิดรูปคลื่นพัลส์หรือรูปคลื่นสี่เหลี่ยม ซึ่งขนาดและความถี่ของรูปคลื่นที่เกิดขึ้นสามารถกำหนดได้ตามที่ออกแบบใช้งานรูปคลื่นที่เกิดจากวงจรพัลส์สามารถนำไปใช้ในการควบคุมการทำงานของวงจรทางดิจิตอลได้ เรียกสัญญาณนี้ว่า "สัญญาณนาฬิกา" (Clock Pulse)
6.1 คุณลักษณะของสัญญาณพัลส์
สัญญาณพัลส์เป็นสัญญาณที่เกิดขึ้นซ้ำๆกันกันโดยมีการเปลี่ยนแปลงจากระดับลอจิก
0 ไปลอจิก 1 และเปลี่ยนระดับลอจิก 1 เป็นระดับลอจิก 0 เปลี่ยนวนซ้ำๆเช่นนี้ต่อเนื่องกันไปแสดงดังรูปภาพที่ 6.1
6.2 วงจรมัลติไวเบรเตอร์
วงจรมัลติไวเบรเตอร์ (Multivibrator) เป็นวงจรกำเนิดความถี่สัญญาณรูปคลื่นสี่เหลี่ยมหรือรูปคลื่นพัลส์ที่มีความสำคัญต่อวงจรดิจิตอลอีกชนิดหนึ่งหรือเรียกวงจรที่กำเนิดสัญญาณนี้ว่า "วงจรออสซิลเลเตอร์" (Oscillator Circuit) ก็ได้การทำงานของวงจรชนิดนี้มีทั้งต้องใช้สัญญาณกระตุ้นจากภายนอก
และไม่ต้องใช้สัญญาณกระตุ้นจากภายนอกวงจรมัลติไวเบรเตอร์แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดคือ
1. วงจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์
2. วงจรโมโนสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์
3. วงจรไบสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์
วงจรมัลติไวเบรเตอร์ (Multivibrator) เป็นวงจรกำเนิดความถี่สัญญาณรูปคลื่นสี่เหลี่ยมหรือรูปคลื่นพัลส์ที่มีความสำคัญต่อวงจรดิจิตอลอีกชนิดหนึ่งหรือเรียกวงจรที่กำเนิดสัญญาณนี้ว่า "วงจรออสซิลเลเตอร์" (Oscillator Circuit) ก็ได้การทำงานของวงจรชนิดนี้มีทั้งต้องใช้สัญญาณกระตุ้นจากภายนอก
และไม่ต้องใช้สัญญาณกระตุ้นจากภายนอกวงจรมัลติไวเบรเตอร์แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดคือ
1. วงจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์
2. วงจรโมโนสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์
3. วงจรไบสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์
6.2.1 วงจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์
วงจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ (Astable Multivibrator) คือวงจรที่สร้างหรือกำเนิดสัญญาณพัลส์ด้วยตัวของมันเอง โดยการที่วงจรทำงานและหยุดทำงานสลับกันไปอย่างต่อเนื่องจนเกิดความถี่และรูปคลื่นขึ้น ไม่อาศัยสัญญาณจากภายนอกมากระตุ้นหรือช่วยทำงานเรียกชื่อวงจรนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "วงจรฟรีรันนิ่ง" (Free Running Multivibrator)สามารถสร้างได้จากลอจิกเกตต่อร่วมกับตัวต้านทานและตัวเก็บประจุหรืออาจจะสร้างจากไอซีเบอร์ 555 ต่อร่วมกับตัวต้านทานและตัวเก็บประจุก็ได้ แสดงดังวงจรต่อไปนี้
วงจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ (Astable Multivibrator) คือวงจรที่สร้างหรือกำเนิดสัญญาณพัลส์ด้วยตัวของมันเอง โดยการที่วงจรทำงานและหยุดทำงานสลับกันไปอย่างต่อเนื่องจนเกิดความถี่และรูปคลื่นขึ้น ไม่อาศัยสัญญาณจากภายนอกมากระตุ้นหรือช่วยทำงานเรียกชื่อวงจรนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "วงจรฟรีรันนิ่ง" (Free Running Multivibrator)สามารถสร้างได้จากลอจิกเกตต่อร่วมกับตัวต้านทานและตัวเก็บประจุหรืออาจจะสร้างจากไอซีเบอร์ 555 ต่อร่วมกับตัวต้านทานและตัวเก็บประจุก็ได้ แสดงดังวงจรต่อไปนี้
จากรูปที่ 6.2, 6.3 และ 6.4
จะทำงานเหมือนกันกล่าวคือเป็นลอจิกที่ต่อในลักษณะการทำงานแบบกลับสัญญาณคือ
สัญญาณเข้าลอจิก 1 สัญญาณออกจะเป็นลอจิก 0 และถ้าสัญญาณเข้าเป็นลอจิก 0
สัญญาณออกจะเป็นลอจิก 1
จากรูปดังกล่าวต่อเป็นวงจจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์
ซึ่งจะได้สัญญาณออกทางเอาต์พุตเป็นลอจิก 1 และ 0 สลับกันไป
จากรูปที่ 6.5 สามารถอธิบายการทำงานของวงจรได้ดังนี้คือ
เมื่อสภาวะเอาต์พุตเป็นลอจิก 0 จุดที่ 2 จะเป็นลอจิก 1 และจุดที่ 1
เป็นลอจิก 0 ตามลำดับเนื่องจากวงจรทำงานเป็นนอตเกตหรืออินเวอร์เตอร์นั่นเอง
เมื่อพิจารณาดูแล้วจะเห็นว่าในสภาวะนี้จะทำให้ตัวเก็บประจุได้รับกระแสจากจุดที่
2 ไหลผ่านตัวต้านทานมาเก็บประจุจนเต็มในระยะเวลาหนึ่ง
เมื่อตัวเก็บประจุทำการเก็บประจุไฟฟ้าจนเต็มก็สิ้นสุดภาวะลอจิก 0
หลังจากนั้นตัวเก็บประจุก็จะคายประจุไฟฟ้ามายังจุดที่ 1 ดังรูปที่ 6.6
ทำให้จุดที่ 1 เป็นลอจิก 1ส่งผลให้จุดที่ 2 เป็นลอจิก 0 และจุดที่ 3
กลับเป็นลอจิก 1 ตามลำดับตามสภาวะการทำงานของนอตเกตเอาต์พุตจึงเป็นลอจิก 1
ตามช่วงระยะเวลาที่ตัวเก็บประจุจะคายประจุไฟฟ้าจนหมดวงจรจะทำงานสลับต่อเนื่องเช่นนี้เรื่อยไป
จึงทำให้ได้เอาต์พุตดังรูปที่ 6.7
ในการปฏิบัติจริงนั้นรูปคลื่นที่ได้จะมีขอบโค้งมนไม่คมดังรูป
เนื่องจากผลของการทำงานของตัวเก็บประจุ
แต่สามารถแก้ไขให้รูปคลื่นมีขอบคมได้โดยต่อวงจรดังรูปที่ 6.8
เอาต์พุตของวงจรสามารถหาคาบเวลา (T) และค่าความถี่ (F) ได้จากสมการดังนี้
วงจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ สามารถสร้างโดยใช้ไอซีไทม์เมอร์เบอร์ 555 ได้โดยต่อร่วมกับตัวต้านและตัวเก็บประจุดังรูปที่ 6.9
จากรูปที่ 6.9 การต่อขาที่ 2 และขาที่ 6
เป็นการต่อเพื่อเปรียบเทียบแรงดันขณะที่ C1 ประจุแรงดันถึง ของแหล่งจ่ายซึ่งใช้ระยะเวลาช่วงหนึ่งจะทำให้เอาต์พุตขาที่ 3 เป็นลอจิก 0
จากนั้น C1 จะเริ่มคายประจุจนถึงระดับแรงดันของแหล่งจ่ายผ่าน R2
และโครงสร้างภายในของไอซี ซึ่งจะใช้ระยะเวลาอีกช่วงหนึ่ง ขาเอาต์พุตขาที่ 3
ก็จะเปลี่ยนเป็นลอจิก 1 ทันทีแล้ว C1 จะเริ่มเก็บประจุอีกครั้ง
กระทำกลับไปกลับมาเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง
จึงทำให้เกิดสัญญาณพัลส์ออกมาที่เอาต์พุต
สามารถทำให้วงจรหยุดการทำงานได้โดยนำขาที่ 4 ต่อลงกราวด์เนื่องจากขาที่ 4
เป็นขา Reset
6.2.2 วงจรโมโนสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์
วงจรโมโนสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ (Monostable Multivibrator)หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วงจรวันช็อต" (One shot Circuit)เป็นวงจรที่กำเนิดสัญญาณพัลส์โดยต้องมีการกระตุ้นจากสัญญาณอินพุตกล่าวคือ ถ้ามีสัญญาณอินพุตมากระตุ้นจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณทางเอาต์พุต เป็นระยะเวลาตามที่สามารถออกแบบได้ แล้วกลับคืนสู่สภาวะเดิม
วงจรโมโนสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ (Monostable Multivibrator)หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วงจรวันช็อต" (One shot Circuit)เป็นวงจรที่กำเนิดสัญญาณพัลส์โดยต้องมีการกระตุ้นจากสัญญาณอินพุตกล่าวคือ ถ้ามีสัญญาณอินพุตมากระตุ้นจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณทางเอาต์พุต เป็นระยะเวลาตามที่สามารถออกแบบได้ แล้วกลับคืนสู่สภาวะเดิม
วงจรโมโนสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ แบ่งตามสัญญาณการกระตุ้นทางอินพุตได้ 2 ชนิด คือ
1. วงจรโมโนสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์แบบกระตุ้นซ้ำได้ (Retriggerable Monostable Multivibrator) เป็นวงจรรที่เริ่มทำงานโดยเมื่อมีการกระตุ้นที่อินพุตแล้วทางเอาต์พุตจะเปลี่ยนสภาวะจาก 0 ไปเป็น 1 ในระยะเวลาที่วงจรจะทำได้ในขณะนี้เองถ้าวงจรได้รับสัญญาณการกระตุ้นทางอินพุตอีกครั้งโดยที่สัญญาณเอาต์พุตยังไม่เปลี่ยนเป็นลอจิก 0 วงจรจะเริ่มต้นนับการเกิดสัญญาณลอจิก 1 ทางเอาต์พุตในการกระตุ้นครั้งที่สองนี้ใหม่ แสดงดังรูปที่ 6.12
1. วงจรโมโนสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์แบบกระตุ้นซ้ำได้ (Retriggerable Monostable Multivibrator) เป็นวงจรรที่เริ่มทำงานโดยเมื่อมีการกระตุ้นที่อินพุตแล้วทางเอาต์พุตจะเปลี่ยนสภาวะจาก 0 ไปเป็น 1 ในระยะเวลาที่วงจรจะทำได้ในขณะนี้เองถ้าวงจรได้รับสัญญาณการกระตุ้นทางอินพุตอีกครั้งโดยที่สัญญาณเอาต์พุตยังไม่เปลี่ยนเป็นลอจิก 0 วงจรจะเริ่มต้นนับการเกิดสัญญาณลอจิก 1 ทางเอาต์พุตในการกระตุ้นครั้งที่สองนี้ใหม่ แสดงดังรูปที่ 6.12
2. วงจรโมโนสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์แบบกระตุ้นซ้ำไม่ได้ (Non Retriggerable
Monostable
Multivibrator)เป็นวงจรที่เริ่มทำงานโดยเมื่อมีการกระตุ้นที่อินพุตแล้ว
ทางเอาต์พุตจะเปลี่ยนสภาวะจาก 0 เป็นลอจิก 1
ในระหว่างนี้ถ้ามีการกระตุ้นทางอินพุตอีกจะไม่มีผลต่อสัญญาณทางเอาต์พุต
จนกว่าเอาต์พุตหมดเวลาการคงสภาพของสัญญาณลอจิก 1
แล้วเปลี่ยนจากสัญญาณลอจิก 1 เป็นลอจิก 0
จึงจะรับการกระตุ้นทางอินพุตอีกครั้ง
รูปแบบของการทำงานของวงจรโมโนสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์แบบกระตุ้นซ้ำได้และแบบกระตุ้นซ้ำไม่ได้ สัญญาณที่กระตุ้นทางอินพุตนั้นมีทั้งแบบการกระตุ้นด้วยขอบขาขึ้นและการกระตุ้นด้วยขอบขาลงทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานและการออกแบบของวงจร สัญญาณที่มากระตุ้นทางอินพุตเรียกตามชื่อภาษาอังกฤษว่า "สัญญาณทริกเกอร์" (Trigger)
รูปแบบของการทำงานของวงจรโมโนสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์แบบกระตุ้นซ้ำได้และแบบกระตุ้นซ้ำไม่ได้ สัญญาณที่กระตุ้นทางอินพุตนั้นมีทั้งแบบการกระตุ้นด้วยขอบขาขึ้นและการกระตุ้นด้วยขอบขาลงทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานและการออกแบบของวงจร สัญญาณที่มากระตุ้นทางอินพุตเรียกตามชื่อภาษาอังกฤษว่า "สัญญาณทริกเกอร์" (Trigger)
วงจรโมโนสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์โดยใช้ไอซีไทม์เมอร์เบอร์ 555 ต่อร่วมกับตัวต้านทานและตัวเก็บประจุดังรูปที่ 6.14
6.2.3 วงจรไบสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์
วงจรไบสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ (Bistable Multivibrator) เป็นวงจรที่มีการทำงานหรือจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ก็ต่อเมื่อมีสัญญาณอินพุตมาควบคุมจึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงและจะคงสภาวะเช่นนี้ต่อไปจนกว่าจะมีสัญญาณอินพุตมากระตุ้นอีกจึงจะกลับไปสู่สภาวะเดิมวงจรการทำงานนี้จะมีสองส่วนนั่นหมายความว่าถ้าส่วนที่หนึ่งทำงานส่วนที่สองจะหยุดการทำงาน ลักษณะของวงจรประเภทนี้ได้แก่
วงจรไบสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ (Bistable Multivibrator) เป็นวงจรที่มีการทำงานหรือจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ก็ต่อเมื่อมีสัญญาณอินพุตมาควบคุมจึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงและจะคงสภาวะเช่นนี้ต่อไปจนกว่าจะมีสัญญาณอินพุตมากระตุ้นอีกจึงจะกลับไปสู่สภาวะเดิมวงจรการทำงานนี้จะมีสองส่วนนั่นหมายความว่าถ้าส่วนที่หนึ่งทำงานส่วนที่สองจะหยุดการทำงาน ลักษณะของวงจรประเภทนี้ได้แก่
ฟลิปฟลอปหรือวงจรแลตช์
ซึ่งวงจรแลตช์นั้นได้กล่าวมาแล้วในหน่วยการเรียกที่ผ่านมาส่วนวงจรทรานซิสเตอร์แสดงดังรูปที่
6.15
จากรูปที่ 6.15 ทรานซิสเตอร์ Q1 และทรานซิสเตอร์ Q2 สลับกันทำงานนั่นหมายความว่า กรณีที่ทรานซิสเตอร์ Q1 หยุดทำงานหรือ OFF จะทำให้ขา C ขา E มีค่าความต้านทานสูงแรงดันที่ +Vccจะไหลไปไบอัสให้กับขา B ของทรานซิสเตอร์ Q2 ทำให้ทรานซิสเตอร์ Q2 อยู่ในสภาวะทำงาน ON จนถึงจุดอิ่มตัวส่งผลให้แรงดันที่ขา E กับขา C มีค่าแรงดันประมาณ 0V แรงดังที่จุด -Vbb จะจ่ายให้ขา B ของทรานซิสเตอร์ Q1 มีผลทำให้ทรานซิสเตอร์ Q1 อยู่ในสภาวะ OFF และทรานซิสเตอร์ Q2 อยู่ในสภาวะ ON เป็นเช่นนี้จนกว่าจะมีอินพุต Eil มากระตุ้นที่ขา B ของทรานซิสเตอร์ Q1 ทำให้ทรานซิสเตอร์ Q1 ทำงานอยู่ในสภาวะ ON จึงทำให้ขา E กับขา C ของ Q1 มีค่าความต้านทานต่ำส่งผลให้แรงดันที่จุด -Vbb ไหลเข้าที่ขา B ของทรานซิสเตอร์ Q2 สภาวะนี้ทรานซิสเตอร์ Q2 จึงหยุดทำงานอยู่ในสภาวะ OFF ซึ่งจะยังคงสภาวะเช่นนี้เรื่อยไปจนกว่าจะมีอินพุต Ei2 ป้อนเข้ามากระตุ้นอีก การทำงานก็จะสลับเช่นนี้เรื่อยไป ซึ่งจะเห็นว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เอาต์พุตได้ต้องมีสัญญาณจากภายนอกมาควบคุม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น