บทที่ 1 ระบบตัวเลขใช้ในระบบ

     

     ระบบตัวเลขที่เราได้ใช้กันมาตลอดและคุ้นเคยกันดีจะประกอบด้วยตัวเลขทั้งหมด 10 ตัวด้วยกันคือเลข 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  เป็นระบบการนับที่มนุษย์เราได้ใช้ในการสื่อสาร ใช้บอกขนาด ปริมาณ ทำให้สามารถเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย ซึ่งระบบตัวเลขนี้คือเลขฐานสิบนั่นเอง
     ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะคอมพิวเตอร์  ซึ่งหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นจะมีลักษณะการทำงานเป็นระบบดิจิตอลคือ ระบบที่ทำงานด้วยแรงดันไฟฟ้าสองระดับ เนื่องจากระบบดิจิตอลทำงานโดยอาศัยแรงดันไฟฟ้าสองระดับ เราจึงสามารถใช้ระบบเลขฐานสอง (เลข 0 กับ เลข 1) แทนแรงดันไฟฟ้าสองระดับนั้น ดังนั้นเราจึงกล่าวได้ว่าคอมพิวเตอร์ที่สร้างด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ระบบดิจิตอล ทำงานด้วยระบบเลขฐานสอง นั่นคือคอมพิวเตอร์จะใช้เพียงเลข 0 กับเลข 1 เท่านั้นในการทำงานแต่เนื่องจากคอมพิวเตอร์จะต้องคำนวณเลขที่มีค่ามากหรือต้องจัดการกับข้อมูลจำนวนมากๆ เลขฐานสองที่ใช้นั้นจึงมีจำนวนหลักมากด้วย จำนวนหลักของเลขฐานสองนี่เองที่เราเรียกว่าบิต (Bit : binary digit)  เช่น เลขฐานสองที่ใช้เป็นรหัสแทนตัวอักษรต่างๆบนแป้นพิมพ์ของคอมพิวเตอร์นั้นเป็นเลขฐานสองขนาด 8 บิต คือ มี 8 หลัก  เช่น ตัวอักษร A แทนด้วย 0100 0001 อักษร Z แทนด้วย 0101 1010 เป็นต้น

    ระบบตัวเลขแต่ละระบบมีจำนวนตัวเลขที่ใช้เหมือนกับชื่อของระบบตัวเลขนั้นและมีฐาน (base) ของจำนวนเลขตามชื่อของมันด้วย เช่น ระบบตัวเลขทางพีชคณิตที่นิยมใช้ในระบบดิจิตอลมีอยู่ 4 ระบบ คือ

    ระบบเลขฐานสอง (Binary Number System ) มีเลขฐานเป็น 2 นั่นคือ ใช้สัญลักษณ์หรือหลักที่แตกต่างกันเท่ากับ 2 ในการแสดงค่าของตัวเลขระบบเลขฐานสอง ประกอบด้วยเลข 2 ตัว คือ 0 และ 1  เป็นเลขที่นิยมใช้กับคอมพิวเตอร์ในการประมวลผลการทำงาน การเก็บข้อมูล หรือโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับสถานะทางไฟฟ้า

    ระบบเลขฐานสิบ (Decimal Number System) มีเลขฐานเป็น 10 นั่นคือ ใช้สัญลักษณ์หรือหลักที่แตกต่างกันเท่ากับ 10 ในการแสดงค่าของตัวเลขระบบเลขฐานสิบ  ประกอบด้วยเลข 10 ตัว คือ  0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ซึ่งเลขฐาน 10 เป็นเลขฐานที่มนุษย์ทั่วไปสามารถเข้าใจได้ง่ายมากที่สุดเพราะเป็นตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

    ระบบเลขฐานแปด (Octal Number System) มีเลขฐานเป็น 8 นั่นคือ ใช้สัญลักษณ์หรือหลักที่แตกต่างกันเท่ากับ 8 ในการแสดงค่าของตัวเลขระบบเลขฐานแปด ประกอบด้วยเลข 8 ตัว คือ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7

    ระบบเลขฐานสิบหก (Hexadecimal Number System) มีเลขฐานเป็น 16 นั่นคือ ใช้สัญลักษณ์หรือหลักที่แตกต่างกันเท่ากับ 16  ในการแสดงค่าของตัวเลขระบบเลขฐานสิบหก ประกอบด้วยเลข 16 ตัว คือ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, A, B, C, D, E, F เมื่อ A = 10, B = 11,  C = 12, D = 13, E = 14, F = 15




1.1 ตารางการแปลงเลขระหว่างระบบเลขฐาน
     การคำนวณ
         1. การแปลงค่าเลขฐานสิบให้เป็นเลขฐานสอง ฐานแปดและฐานสิบหก สามารถคำนวณได้จากการหารสั้นด้วยเลขฐานที่ต้องการแปลงค่าแล้วนำผลลัพธ์และเศษที่ได้มาเรียงต่อกันจากล่างขึ้นบน








2. การแปลงเลขฐานสอง  ฐานแปดและฐานสิบหกให้เป็นเลขฐานสิบ  สามารถคำนวณได้จากการนำเลขฐานที่ต้องการแปลงในหลักนั้นมาคูณกับค่าประจำหลักของฐานแล้วนำแต่ละหลักมารวมกัน 






3. การแปลงค่าเลขฐานสองให้เป็นเลขฐานแปด สามารถคำนวณได้จากการแบ่งกลุ่มเลขฐานสอง  กลุ่มละสามหลักจากด้านขวาไปด้านซ้ายแล้วแปลงเลขฐานสองแต่ละกลุ่มให้เป็นเลขฐานสิบ  จากนั้นจึงนำตัวเลขที่ได้มาเรียงต่อกัน ซึ่งการแปลงเลขฐานสองให้เป็นเลขฐานสิบนั้นสามารถคำนวณได้จากข้อ  2  หรือเทียบจากตารางเลขฐาน



4. การแปลงค่าเลขฐานสองให้เป็นเลขฐานสิบหก สามารถคำนวณได้จากการแบ่งกลุ่มเลขฐานสอง กลุ่มละสี่หลักจากด้านขวาไปด้านซ้ายแล้วแปลงเลขฐานสองแต่ละกลุ่มให้เป็นเลขฐานสิบ จากนั้นนำตัวเลขที่ได้มาเรียงต่อกัน



5. การแปลงค่าเลขฐานแปดให้เป็นเลขฐานสอง  สามารถคำนวณได้จากการแบ่งเลขฐานแปดทีละหลัก แปลงเลขฐานแปดให้เป็นเลขฐานสองสามหลักด้วยการเปรียบเทียบจากตารางเลขฐาน หากเลขฐานสองนั้นมีไม่ถึงสามหลัก  ให้เติม  0  ด้านหน้าของหลักนั้นแล้วจึงนำค่าที่ได้มาเรียงต่อกัน



6. การแปลงค่าเลขฐานแปดให้เป็นเลขฐานสิบหก สามารถคำนวณได้จากการบ่งเลขฐานแปดทีละหลัก แปลงเลขฐานแปดให้เป็นเลขฐานสองด้วยการเปรียบเทียบจากตารางเลขฐานแล้วนำเลขฐานสองที่ได้แปลงให้เป็นเลขฐานสิบหกอีกครั้งหนึ่ง


7. การแปลงค่าเลขฐานสิบหกให้เป็นเลขฐานสอง  สามารถคำนวณได้จากการแบ่งเลขฐานสิบหกทีละหลักแปลงเลขฐานสิบหกให้เป็นเลขฐานสองสี่หลักด้วยการเปรียบเทียบจากตารางเลขฐาน  หากเลขฐานสองนั้นมีไม่ถึงสี่หลักให้เติม  0  ด้านหน้าของหลักนั้นแล้วจึงนำค่าที่ได้มาเรียงต่อกัน


8. การแปลงเลขฐานสิบหกให้เป็นเลขฐานแปด สามารถคำนวณได้จากการแปลงเลขฐานสิบหกให้เป็นเลขฐานสอง แล้วแปลงจากเลขฐานสองให้เป็นเลขฐานแปดอีกครั้งหนึ่ง






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ 2 ทฤษฏีลอจิกเกต

บทที่ 3 พีชคณิตบูลีน

บทที่ 6 วงจรพัลส์เบื้องต้น