บทที่ 5 วงจรซีเควนเชียล
รูปภาพที่ 5.1 แผนผังบล็อกของวงจรซีเควนเชียล (ก) แบบซิงโครนัส (ข) แบบอะซิงโครนัส
วงจรโลจิกแบบซีเควนเชียลแบ่งออกเป็น
2แบบ คือซิงโครนัสและอะซิงโคนัส โดยมีแผนผังบล็อกตามรูปที่
5.1จะเห็นได้ว่าสัญญาณเอาท์พุทจะเกิดจากสัญญาณอินพุทจากภายนอกกับสัญญาณเอาท์พุทเดิมที่ป้อนกลับมาในกรณีของวงจรแบบซิงโครนัสจะมีสัญญาณควบคุม(สัญญาณนาฬิกา)
เป็นส่วนควบคุมอุปกรณ์ความจำให้ทำไปพร้อมๆกัน
ส่วนวงจรแบบอะซิงโครนัสจะไม่ต้องใช้สัญญาณนาฬิกา
1. ฟลิปฟลอป (Flip-flop)
อุปกรณ์ความจำหรืออุปกรณ์ที่สามารถเก็บสถานะทางโลจิกได้ เป็นอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับวงจรซีเควนเชียล อุปกรณ์พื้นฐานตัวนี้มีสถานะเพียง 2 สถานะทั่วๆไปเรียกว่า "bistable หรือ Flip Flop"
อุปกรณ์ความจำหรืออุปกรณ์ที่สามารถเก็บสถานะทางโลจิกได้ เป็นอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับวงจรซีเควนเชียล อุปกรณ์พื้นฐานตัวนี้มีสถานะเพียง 2 สถานะทั่วๆไปเรียกว่า "bistable หรือ Flip Flop"
1.1 ฟลิปฟลอปแบบ RS (RS Flip-flop)
ฟลิบฟลอปแบบ RS เป็นฟลิปฟลอปแบบที่ง่ายที่สุด ประกอบด้วยสัญญาณอินพุท R สัญญาณอินพุท S สัญญาณเอาท์พุท Q สัญญาณอินพุท R มีหน้าที่ทำให้เอาท์พุท Q เป็น 0 และสัญญาณอินพุท S มีหน้าที่ทำให้เอาท์พุท Q เป็น 1 ลักษณะของวงจรสร้างได้จากเกต NOR หรือเกต NAND ก็ได้ดัง
ฟลิบฟลอปแบบ RS เป็นฟลิปฟลอปแบบที่ง่ายที่สุด ประกอบด้วยสัญญาณอินพุท R สัญญาณอินพุท S สัญญาณเอาท์พุท Q สัญญาณอินพุท R มีหน้าที่ทำให้เอาท์พุท Q เป็น 0 และสัญญาณอินพุท S มีหน้าที่ทำให้เอาท์พุท Q เป็น 1 ลักษณะของวงจรสร้างได้จากเกต NOR หรือเกต NAND ก็ได้ดัง
รูปภาพที่ 5.2 และ 5.3
รูปที่ 5.2 (ก) และ (ข)
เป็นไดอะแกรมโลจิกหรือวงจรฟลิปฟลอปแบบ RS ที่สร้างจากเกต NOR รูป 5.2 (ค)
เป็นสัญลักษณ์ของฟลิปฟลอปแบบ RS
การทำงานของวงจรขึ้นอยู่กับสัญาณอินพุท R และ S ถ้าสัญญาณใดสัญญาณหนึ่งเป็นโลจิก 1 สัญญาณนั้นจะเป็นตัวกำหนดค่าเอาท์พุท Q เช่นถ้า S เป็น 1และ R เป็น 0 ก็เป็นการเซ็ต ให้เอาท์พุท Q เป็น 1 แต่ถ้า S เป็น 0 แล้ว R เป็น 1 จะเป็นการรีเซ็ตเอาท์พุท Q ให้เป็น 0 แต่ถ้าเป็น 0 ทั้งคู่ สัญญาณเอาท์พุท Q จะคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง สภาวะนี้ใช้เป็นสภาวะการจำข้อมูลของอุปกรณ์ใช้สภาวะนี้สำหรับให้อุปกรณ์จดจำข้อมูลเดิมส่วนสภาวะสุดท้ายที่ Rและ S เป็น 1 ทั้งคู่ เป็นสภาวะที่จะไม่นำมาใช้งานเพราะว่าการทำงานของวงจรจะไม่เหมือนกันเมื่อเปลี่ยนเกตที่นำมาสร้างฟลิปฟลอป ดังนั้นจึงไม่สามารถจะทำนายการทำงานของวงจรได้ เงื่อนไขนี้เรียกว่า “Race condition” ไดอะแกรมเวลาและตารางการทำงานของวงจรแสดงอยู่ในรูปที่ 5.2 (ง) และ (จ) ตามลำดับ
การทำงานของวงจรขึ้นอยู่กับสัญาณอินพุท R และ S ถ้าสัญญาณใดสัญญาณหนึ่งเป็นโลจิก 1 สัญญาณนั้นจะเป็นตัวกำหนดค่าเอาท์พุท Q เช่นถ้า S เป็น 1และ R เป็น 0 ก็เป็นการเซ็ต ให้เอาท์พุท Q เป็น 1 แต่ถ้า S เป็น 0 แล้ว R เป็น 1 จะเป็นการรีเซ็ตเอาท์พุท Q ให้เป็น 0 แต่ถ้าเป็น 0 ทั้งคู่ สัญญาณเอาท์พุท Q จะคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง สภาวะนี้ใช้เป็นสภาวะการจำข้อมูลของอุปกรณ์ใช้สภาวะนี้สำหรับให้อุปกรณ์จดจำข้อมูลเดิมส่วนสภาวะสุดท้ายที่ Rและ S เป็น 1 ทั้งคู่ เป็นสภาวะที่จะไม่นำมาใช้งานเพราะว่าการทำงานของวงจรจะไม่เหมือนกันเมื่อเปลี่ยนเกตที่นำมาสร้างฟลิปฟลอป ดังนั้นจึงไม่สามารถจะทำนายการทำงานของวงจรได้ เงื่อนไขนี้เรียกว่า “Race condition” ไดอะแกรมเวลาและตารางการทำงานของวงจรแสดงอยู่ในรูปที่ 5.2 (ง) และ (จ) ตามลำดับ
รูปภาพที่ 5.2 ฟลิปฟลอปแบบ RS สร้างจากเกต NOR
สำหรับฟลิปฟลอปแบบ RS ที่สร้างจากเกต
NAND ก็มีการทำงานเช่นเดียวกับฟลิปฟลอปแบบ RS ที่สร้างจากเกต NOR
แต่แตกต่างกันในสภาวะเก็บข้อมูลกรณีที่ใช้เกต NAND
สภาวะที่ข้อมูลไม่เปลี่ยนจะเกิดเมื่ออินพุท R และ S เป็น 1 ทั้งคู่
ส่วนสภาวะ Race จะเกิดเมื่ออินพุทเป็น 0 ทั้งคู่ ตามตารางการทำงานในรูปที่ 5.3 (จ)
รูปภาพที่ 5.3 ฟลิปฟลอปแบบ RS สร้างจากเกต NAND
ฟลิปฟลอปแบบ RS ชนิดมีสัญญาณนาฬิกาควบคุม
สัญญาณเอาท์พุท Q
ไม่เปลี่ยนแปลงไม่ว่า CLK จะเป็น 0 หรือ 1 เพราะว่าอินพุท R และ S เป็น 0
ทั้งคู่ เมื่อถึงเวลาตำแหน่งที่ 2 S เปลี่ยนจาก 0 ไปเป็น 1 ซึ่งเป็นการทำงานเซ็ตเอาท์พุทแต่ขณะนี้
CLK ยังเป็น 0 อยู่ Q จึงยังไม่เปลี่ยนแปลง Q จะกลายเป็น 1 เมื่อ CLK เป็น
1 ตรงเวลาตำแหน่งที่ 3 และเช่นเดียวกับเวลาที่ 1 ตรงเวลาที่ 4 R และ S เป็น 0 ทั้งคู่ ฟลิบฟลอปจึงอยู่ในสภาวะเก็บข้อมูล
รูปภาพที่ 5.4 ฟลิปฟลอปแบบ RS ชนิดมีสัญญาณนาฬิกาควบคุม
2. ฟลิปฟลอปแบบ D (D Flip-flop)
เพื่อแก้ปัญหาสภาวะ Race ของฟลิปฟลอปแบบ RS เมื่อปรับปรุงวงจรเป็นไปตามรูปที่ 5.5(ก) ทำให้ R และ S ไม่มีโอกาสเป็น 0 พร้อมกันสภาวะ race ก็ไม่เกิดขึ้นการทำงานของวงจร สัญญาณเอาท์พุท Q จะมีค่าเหมือนกับ D ตามตารางการทำงานในรูปที่ 5.5(ข)
เพื่อแก้ปัญหาสภาวะ Race ของฟลิปฟลอปแบบ RS เมื่อปรับปรุงวงจรเป็นไปตามรูปที่ 5.5(ก) ทำให้ R และ S ไม่มีโอกาสเป็น 0 พร้อมกันสภาวะ race ก็ไม่เกิดขึ้นการทำงานของวงจร สัญญาณเอาท์พุท Q จะมีค่าเหมือนกับ D ตามตารางการทำงานในรูปที่ 5.5(ข)
ฟลิปฟลอปแบบ D
ชนิดมีสัญญาณนาฬิกาควบคุมในทำนองเดียวกับฟลิปฟลอปแบบ RS
เมื่อเพิ่มสัญญาณนาฬิกาควบคุม ทำให้เอาท์พุท Q ขึ้นอยู่กับอินพุท D
แต่สัญญาณนาฬิกา CLK ต้องเป็น 1 ถ้าสัญญาณนาฬิกาเป็น 0 เอาท์พุท Q
จะคงค่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลงจากไดอะแกรมเวลาในรูปที่ 5.6 (ค) ตำแหน่งที่ 15
และ 6 สัญญาณนาฬิกาเป็น 1 เมื่อ D เปลี่ยนแปลง Q
จะเปลี่ยนตามแต่ในตำแหน่งที่ 3 และ 4 สัญญาณนาฬิกาเป็น 0 สัญญาณ D
จะเปลี่ยนไปอย่างไร Q
ยังคงค่าเดิมตลอดจากการทำงานนี้เขียนเป็นตารางการทำงานได้ตามรูปที่ 5.6
(ง)
รูปภาพที่ 5.6 ฟลิปฟลอปแบบ D ชนิดมีสัญญาณนาฬิกาควบคุม (ก) วงจร (ข) สัญลักษณ์
ฟลิปฟลอปแบบ D ชนิดควบคุมด้วยขอบของสัญญาณนาฬิกาถ้าต้องการให้สัญญาณนาฬิกาควบคุมการทำงานของฟลิปฟลอปแบบ D ในลักษณะที่เมื่อมีสัญญาณนาฬิกามา 1
ไซเคิลจะยอมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ Q เพียง 1 ครั้ง
วงจรฟลิปฟลอปตามรูปที่ 5.7(ก) ไม่สามารถทำได้
ดังจะเห็นได้จากไดอะแกรมเวลาในรูปที่ 5.7(ค) ตามตำแหน่งที่ 5 และ 6
รูปภาพที่ 5.7 ฟลิปฟลอปแบบ D ชนิดควบคุมด้วยขอบของสัญญาณนาฬิกา (ก) วงจร (ข) สัญลักษณ์
การใช้วงจรตามรูปที่ 5.7 (ก)
เมื่อเพิ่มวงจร RC เข้าไปในส่วนของสัญญาณนาฬิกา ด้วยคุณสมบัติของวงจร RC
ทำให้สัญญาณนาฬิกาที่มีรูปร่างเป็นพลัซ์กลายเป็นสัญญาณสไปค์ (Spike)
ป้อนให้แก่อินพุทของเกต NAND ดังนั้นอินพุทของ NAND จะได้รับโลจิก 1
เพียงชั่วขณะ ในเวลาที่ CLK เปลี่ยนจากโลจิก 0 ไปเป็น 1 เท่านั้น
เพราะว่าช่วงนี้เท่านั้นที่ระดับแรงดันของสไปค์ จะสูงพอที่มีค่าเป็น 1
ส่วนช่วงอื่นระดับแรงดันมีค่าต่ำเป็นโลจิก 0 ดังนั้นในทุกๆ 1ไซเคิลของสัญญาณนาฬิกาจะมีผลทำให้ Q
เปลี่ยนแปลงค่าเพียง 1 ครั้งเท่านั้น
การกระตุ้นการทำงานของฟลิปฟลอปแบบนี้เรียกว่า การกระตุ้นด้วยขอบบวก(Positive Edge)แต่ถ้าเพิ่มเกต NOT เข้าที่ CLK ก่อนเข้าวงจร RC
ก็จะเป็นการกระตุ้นด้วยขอบลบ (Negative
Edge)คือช่วงที่สัญญาณเปลี่ยนจากโลจิก 1 ไปเป็น 0 สัญลักษณ์ไดอะแกรมเวลา และตารางการทำงานแสดงอยู่ในรูปที่ 5.7 (ข),(ค) และ (ง) ตามลำดับ
ฟลิปฟลอปแบบ D ชนิดมีสัญญาณควบคุมพรีเซ็ตและเคลียร์ (Preset and Clear)
วงจรชนิดนี้เพิ่มสัญญาณควบคุมการเซ็ตและการเคลียร์ถ้าสัญญาณ Preset เป็น
0และ Clear เป็น 1 จะท าให้ Q เป็น 1 โดยไม่สนใจว่า D กับ CLK จะเป็นอะไร
ในทำนองเดียวกันถ้า Clear เป็น 0 และ Preset เป็น 1 จะทำให้ Q เป็น 0
โดยไม่สนใจว่า D กับ CLK จะเป็นอะไรเช่นกันแต่ถ้าเป็น 1 ทั้งคู่ Q
จะขึ้นอยู่กับ D
รูปภาพที่ 5.8 ฟลิปฟลอปแบบ D ชนิดมีสัญญาณควบคุมพรีเซ็ตและเคลียร์ (ก) วงจร (ข) ตารางการทำงานและ (ค) สัญลักษณ์
และ CLK เหมือนกับฟลิปฟลอปแบบ D
ที่ได้กล่าวมาแล้วสรุป Preset เป็นสัญญาณใช้ทำให้ Q เป็น 1 ทันที และ
Clear ก็ใช้ทำให้ Q เป็น 0 ทันที
ส่วนใหญ่จะใช้สัญญาณทั้งสองนี้สำหรับการกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับฟลิปฟลอปก่อนที่จะทำงานตามปกติและการที่สัญญาณทั้งสองทำงานเมื่อได้รับโลจิก
0 จึงกล่าวได้ว่าสัญญาณ Preset และ Clear ทั้งสองนี้แอคทีฟ 0
ดังแสดงด้วยสัญลักษณ์ในรูป 5.9 (ค) ข้อควรระวังจะต้องไม่ให้ Preset และ
Clear เป็น 0 พร้อมกันเพราะว่าไม่สามารถจะกำหนดได้ว่า Q จะเป็นอะไร
3. ฟลิปฟลอปแบบ JK (JK Flip-flop)
ฟลิปฟลอบแบบนี้การทำงานจะขึ้นอยู่กับเอาท์พุท Q อินพุท J K และ ขอบบวกของสัญญาณนาฬิกา CLK ถ้า CLK มีค่าเป็นโลจิก 1 หรือ 0 หรือ ขอบลบค่า Q จงคงค่าเดิมไม่ว่า J และ K จะเป็นอะไรก็ตามแต่ถ้า CLK เป็นขอบบวกการทำงานการทำงานจะขึ้นกับอินพุท J K และค่า Q เดิม เช่นถ้า J เป็น 1 และ K เป็น 0 จะเซ็ตฟลิปฟลอปทำให้ Q เป็น 1 แต่ถ้า J เป็น 0 และ K เป็น 1 จะเป็นการรีเซ็ตฟลิปฟลอปทำให้ Q เป็น 0 แต่ถ้า J เป็น 0 และ K เป็น 0 ฟลิปฟลอปจะอยู่ในสภาวะจำค่าเดิม Q ไม่เปลี่ยนและถ้า J เป็น 1 และ K เป็น 1 ฟลิปฟลอปจะอยู่ในสภาวะกลับตัว (Toggle)คือ Q จะเปลี่ยนเป็นค่าตรงข้ามกับค่าเดิม
ฟลิปฟลอบแบบนี้การทำงานจะขึ้นอยู่กับเอาท์พุท Q อินพุท J K และ ขอบบวกของสัญญาณนาฬิกา CLK ถ้า CLK มีค่าเป็นโลจิก 1 หรือ 0 หรือ ขอบลบค่า Q จงคงค่าเดิมไม่ว่า J และ K จะเป็นอะไรก็ตามแต่ถ้า CLK เป็นขอบบวกการทำงานการทำงานจะขึ้นกับอินพุท J K และค่า Q เดิม เช่นถ้า J เป็น 1 และ K เป็น 0 จะเซ็ตฟลิปฟลอปทำให้ Q เป็น 1 แต่ถ้า J เป็น 0 และ K เป็น 1 จะเป็นการรีเซ็ตฟลิปฟลอปทำให้ Q เป็น 0 แต่ถ้า J เป็น 0 และ K เป็น 0 ฟลิปฟลอปจะอยู่ในสภาวะจำค่าเดิม Q ไม่เปลี่ยนและถ้า J เป็น 1 และ K เป็น 1 ฟลิปฟลอปจะอยู่ในสภาวะกลับตัว (Toggle)คือ Q จะเปลี่ยนเป็นค่าตรงข้ามกับค่าเดิม
รูปภาพที่ 5.9 (ก) วงจรฟลิปฟลอปแบบ JK(ข) ไดอะแกรมเวลา (ค) สัญลักษณ์ (ง) ตารางการทำงาน
การทำงานที่กล่าวถึงทั้งหมดนี้สามารถตรวจสอบการทำงานได้จากวงจรไดอะแกรมเวลาและตารางการทำงานในรูปภาพที่ 5.9
อนึ่งการทำงานของฟลิปฟลอปในสภาวะกลับตัว คือ Q เปลี่ยนเป็นจากค่าเดิมเป็นค่าตรงข้ามนี้ สามารถพิจารณาให้เป็นฟลิปฟลอปอีกแบบหนึ่งได้เรียกว่า "ฟลิปฟลอปแบบ T (T Flip-flop)” ตามรูปภาพที่ 5.10 (ก) เป็นฟลิปฟลอปแบบ T ที่สร้างจาก ฟลิปฟลอปแบบ D และรูปภาพที่ 5.10 (ข) เป็นฟลิปฟลอปแบบ T ที่สร้างจากฟลิปฟลอปแบบ JK สำหรับสัญลักษณ์ของฟลิปฟลอปแบบ T อยู่ในรูปภาพที่ 5.10 (ค)
อนึ่งการทำงานของฟลิปฟลอปในสภาวะกลับตัว คือ Q เปลี่ยนเป็นจากค่าเดิมเป็นค่าตรงข้ามนี้ สามารถพิจารณาให้เป็นฟลิปฟลอปอีกแบบหนึ่งได้เรียกว่า "ฟลิปฟลอปแบบ T (T Flip-flop)” ตามรูปภาพที่ 5.10 (ก) เป็นฟลิปฟลอปแบบ T ที่สร้างจาก ฟลิปฟลอปแบบ D และรูปภาพที่ 5.10 (ข) เป็นฟลิปฟลอปแบบ T ที่สร้างจากฟลิปฟลอปแบบ JK สำหรับสัญลักษณ์ของฟลิปฟลอปแบบ T อยู่ในรูปภาพที่ 5.10 (ค)
รูปภาพที่ 5.10 (ก) และ (ข) วงจรฟลิปฟลอปแบบ T(ค) สัญลักษณ์
ในรูปภาพที่ 5.11 แสดงการดัดแปลงฟลิปฟลอปแบบ JK ให้มีการทำงานเหมือนกับฟลิปฟลอปแบบ D
รูปภาพที่ 5.11 วงจรฟลิปฟลอปแบบ D ที่สร้างจากฟลิปฟลอปแบบ JK
ฟลิปฟลอปแบบ JK Master-Slave
รูปภาพที่ 5.12 (ก) วงจรฟลิปฟลอปแบบ JK Master-Slave(ข) ตารางการทำงานและ (ค) สัญลักษณ์
จากวงจรในรูปที่ 5.9 (ก)
เมื่ออินพุท J และ K เป็น 1ทั้งคู่ การทำงานของวงจรอยู่ในสภาวะกลับตัว Q
จะเปลี่ยนค่าเป็นค่าตรงข้าม (คือจาก 1กลายเป็น 0 หรือจาก 0 กลายเป็น 1)
ทุกครั้งที่มีสัญญาณนาฬิกา CLK มากระตุ้น
ดังนั้นวงจรในรูปนี้จึงต้องใช้สัญญาณนาฬิกาที่กระตุ้นด้วยขอบไม่ว่าจะเป็นขอบบวกหรือขอบลบก็ตามเพื่อว่าใน
1 ไซเคิลของสัญญาณนาฬิกาจะเกิดการกระตุ้นเพียงครั้งเดียวแต่ถ้าเอาวงจร R C
ออกเพื่อให้เป็นการกระตุ้นด้วยระดับโลจิก (1 หรือ 0 ก็ได้) การทำงานจะเกิดอาการที่เรียกว่าสัญญาณวิ่ง (Racing)
คือสัญญาณจะเปลี่ยนค่าตลอดเวลาที่สัญญาณนาฬิกาเป็นระดับที่วงจรทำงานได้
ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหานี้จึงเปลี่ยนแปลงวงจรฟลิปฟลอปแบบ
JK เป็นฟลิปฟลอปแบบ JK ชนิด Master-Slave ดังรูปที่ 5.12 (ก)
วงจรแบบนี้การทำงานในแต่ละครั้งต้องใช้สัญญาณครบไซเคิลคือต้องมีทั้งระดับโลจิก
1 และ 0 โดยชุด master ที่มีอินพุทเป็น JK และเอาท์พุทเป็น RS
จะทำงานได้ต้องใช้การกระตุ้นด้วยระดับโลจิก 1 ของ CLK ส่วนชุด slave ที่มีอินพุทเป็น RS และเอาท์พุทเป็น Q
จะทำงานได้ต้องใช้การกระตุ้นด้วยระดับโลจิก 0 ของ CLK
ดังนั้นถึงแม้ว่าสัญญาณ Q ถูกป้อนกลับไปยังอินพุทด้าน JK
ก็จะยังไม่เกิดการทำงานขึ้นเพราะว่าในขณะที่ชุด slave ทำงาน CLK เป็น 0
ต้องรอให้ CLK เป็น 1 ชุด master จึงจะทำงานได้ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้นชุด
slave ก็จะหยุดทำงานบ้างเมื่อเป็นเช่นนี้ก็ไม่เกิดการวิ่งของสัญญาณขึ้น
กล่าวโดยสรุปแล้วการทำงานของฟลิปฟลอปส่วนใหญ่ถูกควบคุมด้วยสัญญาณนาฬิกาการกระตุ้นของสัญญาณนาฬิกามี 4 ชนิดคือ กระตุ้นด้วยระดับโลจิก 2 ชนิด 0 กับ 1 และกระตุ้นด้วยขอบ 2 ชนิด ขอบบวกกับขอบลบ นอกจากนี้ยังมีสัญญาณควบคุมพรีเซ็ตกับเคลียร์เพื่อใช้กำหนดสถานะเริ่มการทำงาน การกระตุนของสัญญาณทั้งสองนี้มี 2 ชนิดคือ โลจิก 0 และ 1 ตามตัวอย่างสัญลักษณ์ที่แสดงอยู่ในรูปที่ 5.13 นี้
กล่าวโดยสรุปแล้วการทำงานของฟลิปฟลอปส่วนใหญ่ถูกควบคุมด้วยสัญญาณนาฬิกาการกระตุ้นของสัญญาณนาฬิกามี 4 ชนิดคือ กระตุ้นด้วยระดับโลจิก 2 ชนิด 0 กับ 1 และกระตุ้นด้วยขอบ 2 ชนิด ขอบบวกกับขอบลบ นอกจากนี้ยังมีสัญญาณควบคุมพรีเซ็ตกับเคลียร์เพื่อใช้กำหนดสถานะเริ่มการทำงาน การกระตุนของสัญญาณทั้งสองนี้มี 2 ชนิดคือ โลจิก 0 และ 1 ตามตัวอย่างสัญลักษณ์ที่แสดงอยู่ในรูปที่ 5.13 นี้
รูปภาพที่ 5.13 สัญลักษณ์ฟลิปฟลอปแบบต่างๆ
(ก) สัญญาณนาฬิกากระตุ้นด้วยระดับโลจิก 1
(ข) สัญญาณนาฬิกากระตุ้นด้วยระดับโลจิก 0
(ค) สัญญาณนาฬิกากระตุ้นด้วยขอบบวก
(ง) สัญญาณนาฬิกากระตุ้นด้วยขอบลบ
(จ) สัญญาณควบคุมพรีเซ็ตและเคลียร์ทำงานด้วยโลจิก 0
(ฉ) สัญญาณควบคุมพรีเซ็ตและเคลียร์ทำงานด้วยโลจิก 1
(ก) สัญญาณนาฬิกากระตุ้นด้วยระดับโลจิก 1
(ข) สัญญาณนาฬิกากระตุ้นด้วยระดับโลจิก 0
(ค) สัญญาณนาฬิกากระตุ้นด้วยขอบบวก
(ง) สัญญาณนาฬิกากระตุ้นด้วยขอบลบ
(จ) สัญญาณควบคุมพรีเซ็ตและเคลียร์ทำงานด้วยโลจิก 0
(ฉ) สัญญาณควบคุมพรีเซ็ตและเคลียร์ทำงานด้วยโลจิก 1
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น